0
สุกร,ไก่ชน,ไก่ไข่อินทรีย์,ไก่พื้นเมือง,ไก่สามสาย,กบ,เป็ดไข่,เป็ดเนื้อ,ปลาดุก,ยาสัตว์,ไก่ไข่อารมณ์ดี,การเลี้ยงไก่ไข่
ฟาร์มไก่เมืองขุขันธ์

การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์นอกจากจะได้ไข่อินทรีย์และไก่อินทรีย์เพื่อนำไปบริโภคในชีวิตประจำวันแล้ว
ยังสามารถนำไข่อินทรีย์และไก่อินทรีย์มาจำหน่ายเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยง
ธุรกิจการเลี้ยงไก่ไข่นั้นใช้เงินทุนไม่มาก ใช้พื้นที่เพียงเล็กน้อยและไก่ไข่อินทรีย์เลี้ยงง่าย
จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีประสบการณไม่มากนักในการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์
เป็นธุรกิจหลักนั้นสามารถนำไก่อินทรีย์และไข่อินทรีย์ไป จำหน่ายที่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
หลังจากพิจารณาแล้วในพื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษนั้น มีเกษตรกรผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับฟาร์มไก่ยังไม่มากนักจึงเป็นที่น่าลงทุน
ในการผลิต ไก่สาวอินทรีย์ และไข่ไก่อินทรีย์เพื่อจำหน่ายให้ผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพได้บริโภคไข่ไก่อินทรีย์และเนื้อไก่อินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพผู้บริโภค

   การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์นั้นจะเน้นไปที่เรื่องความเป็นธรรมชาติมากที่สุดโดยไม่พึ่งยาปฏิชีวนะในการเลี้ยง เช่นการผสมอาหารเองเพื่อตัดปัญหาเรื่องยาปฏิชีวนะ รวมทั้งลดต้นทุนในการผลิตไข่และไก่ โดยการนำเอาสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณในการรักษาและป้องกันโรคในไก่มาผสมกับอาหารและน้ำให้ไก่กินเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ไก่ไปในตัว
   การเลี้ยงไก่อารมณ์ดี(Happy chicken) โดยมีระบบการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยให้ไก่ได้ออกมาภายนอกเล้า หรือโรงเรือนได้อย่างอิสระ โดยเป็นพื้นที่ที่มีหญ้าปกคลุม มีแมลง ไม่มีประวัติการใช้สารเคมีหรือยาฆ่าหญ้า เป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี  ระบบการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยนั้นทำให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติอย่างอิสระ เช่น การคลุกฝุ่น การไซ้ขน การจิกกินพืช ผัก แมลง ทำให้ไก่มีความสุข อารมณ์ดี ไม่ป่วยง่าย  ระบบการจัดการฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยนั้นมีข้อกำหนดมาตรฐานการเลี้ยงไก่แบบปล่อยดังนี้  ต้องมีพื้นที่ภายนอกโรงเรือนอย่างน้อย 4 ตารางเมตร/ตัว และต้องมีพืชคลุมดิน ไก่จะต้องมีอิสระที่จะออกจากเล้าหรือโรงเรือนได้ตลอดเวลา ภายในเล้าต้องมีคอนนอนสำหรับให้ไก่ได้เกาะนอนยามค่ำคืน มีรังไข่ให้ไก่อย่างน้อย 1 รัง/แม่ไก่ 7 ตัวเพื่อให้ไก่ได้ไข่อย่างเหมาะสมไม่แน่นจะเกินไป

พันธุ์ไก่ไข่
  1. ไก่โรดไอแลนด์เรด (Rhode Island Red)
  2. ไก่ไข่ไทยกรมปศุสตว์ (AC)
  3. ไก่ไข่ ซี.พี.บราวน์
  4. ไก่ไข่ของบริษัทอื่นๆหรือพัฒนาและเพาะพันเอง
โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่ไข่
  1. การเลือกสถานที่เหมาะสมสำหรับให้ไก่อยู่สบายมีการป้องกันสัตว์ที่จะมาทำร้ายไก่
  2. เป็นพื้นที่ระบายน้ำได้ดี ควรอยู่ที่สูงสุดของพื้นที่
  3. มีน้ำสะอาดปริมาณเพียงพอ
  4. มีไฟฟ้าเข้าถึง
  5. อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน
  6. ที่ตั้งไม่เคยมีการระบาดของโรคสัตว์ปีกมาก่อน
การเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่ระยะไข่
  1. การเตรียมโรงเรือนเพื่อรับไก่ ต้องโรยปูนขาวก่อนเทแกลบเป็นการฆ่าเชื่อ และทำความสะอาดภายในโรงเรือนรอบๆโรงเรือน และอุปกรณ์การเลี้ยงต่างๆ
  2. เตรียมอาหารและวิธีการให้อาหารให้พร้อม
  3. ระยะการให้ไข่ ควรให้อาหารเฉลี่ย 110-120 กรัม/ตัว/วันให้ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
  4. คุณค่าทางโภชนะ 17-18 % โปรตีนเช่น ไก่ไข่ 50 ตัว (120 กรัม/ตัว/วัน) ต้องให้อาหารวันละ 6 Kg. โดยให้ช่วงเช้า 3 Kg. ช่วงบ่าย 3 Kg.
การเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่ระยะไข่
  1. การให้อาหารเสริม เช่น ผัก หญ้า กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอ
  2. การจัดการแสงสว่าง
  3. แสงสว่างมีอิทธิพลต่ออายุไก่เมื่อเริ่มไข่ จำนวนไข่ ปริมาณอาหารที่ไก่กิน และพฤติกรรมของไก่
ระยะการให้ผลผลิตของไก่ไข่ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะที่ 1 ผลผลิตไข่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงสูงสุด
  2. หลังจากฝูงไก่เริ่มไข่ได้ 5% ผลผลิตไข่จะเพิ่มขึ้นสูงสุด (peak) เมื่อไข่ได้ 2-3 เดือน เพิ่มขนาดไข่ และน้ำหนักตัว
  3. ระยะที่ 2 ช่วงผลผลิตไข่ลดลงเป็นเส้นตรง
  4. หลังจากผลผลิตไข่เพิ่มขึ้นสูงสุด ตามปกติผลผลิตจะลดลงในเปอร์เซ็นที่เท่ากันทุกๆสัปดาห์เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม การจัดการที่ดี แต่ถ้าไก่เครียด อากาศร้อน อัตราการลดลงจะมากกว่ามาตรฐาน ขนาดไข่ใหญ่ขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการสะสมไขมันในช่องท้อง
  5. ระยะที่ 3 ระยะก่อนที่ไก่จะหยุดไข่และผลัดขน
  6. ผลผลิตไข่จะลดลงอย่างมากจนหยุดไข่ ไก่จะเริ่มผลัดขน ขนาดไข่ไม่ลดลง แต่ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารจะลดลง


ลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติในการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อย
  1. ให้อาหารใหม่ทุกวัน หลังจากทำความสะอาดถังอาหาร
  2. ทำความสะอาดถังน้ำ และเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน
  3. กลับวัสดุรองพื้นหรือเปลี่ยนวัสดุรองพื้นที่มีการจับตัวกันเป็นก้อน
  4. ทำความสะอาดภายใน และรอบบริเวณโรงเรือน   
  5. ตรวจสอบปริมาณการกินอาหารของไก่
  6. ตรวจนับจำนวนไข่และเก็บไข่ให้บ่อยครั้ง การนับจำนวนไข่ทั้งหมดควรเป็นช่วงเย็นของทุกวัน
  7. ควรปล่อยไก่ออกจากคอกหลังให้อาหารเช้า และให้กลับเข้าคอกช่วงบ่าย
  8. การนำน้ำหมักมาฉีดพ้นเพื่อลด กลิ่นและกำจัดแมลงที่เป็นภาหะนำโรค
  9. สังเกตลักษณะของไก่ที่แปลกไปจากฝูงเพื่อดูว่าถ้าไก่ไม่สบายให้รีบแยกออกจากฝูงก่อนจะระบาด
Next
บทความใหม่กว่า
Previous
This is the last post.

แสดงความคิดเห็น

 
Top